รู้จักโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ

 

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบ (Coronary Artery Disease) เป็นผลมาจาการสะสมของคราบในหลอดเลือด เรียกว่าการเกิด atherosclerosis ซึ่งนำไปสู่การอุดตันของหลอดเลือดแดงจากที่มีความราบรื่นและหยืดหยุ่น ก็จะแคบลงและยากต่อการไหลของเลือดไปยังหัวใจ หัวใจจึงขาดออกซิเจนและสารอาหารที่จำเป็นต่อการทำงานของหัวใจ

 

เส้นเลือดหัวใจ (Coronary arteries)

เป็นเส้นเลือดที่นำเลือดดี (เลือดที่เต็มไปด้วยอ็อกซิเจน) ไปยังกล้ามเนื้อหัวใจ เนื่องจากหัวใจต้องการอ็อกซิเจนในการหล่อเลี้ยงและผลิตพลังงานเช่นเดียวกับอวัยวะอื่นๆ เพื่อที่จะสามารถทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

 

โรคเส้นเลือดหัวใจตีบเกิดขึ้นได้อย่างไร ?

คอลเลสเตอรอลจะเริ่มเกาะที่ผนังเส้นเลือดตั้งแต่วัยเด็กเป็นต้นมา และเมื่อเราโตขึ้นคราบจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงของการอุดตันของหลอดเลือด และหัวใจวายในที่สุด นอกจากนี้ คราบที่สะสมในหลอดเลือดยังปล่อยสาร Lipoprotein แคลเซียม ซึ่งจะเริ่มเกาะติดอยู่กับหลอดเลือดเพิ่มขึ้น เนื่องจากสารเคมีที่ทำให้ผนังด้านในของหลอดเลือดเหนียวขึ้น และคราบสกปรกได้ปล่อยออกมาเช่นกัน

 

ในที่สุด เส้นเลือดที่แคบลงอาจพัฒนาเส้นเลือดใหม่ ขึ้นมาทดแทนเพื่อส่งเลือดไปที่หัวใจ ที่อย่างไรก็ตาม เส้นเลือดที่สร้างขึ้นใหม่นั้นอาจไม่สามารถนำออกซิเจนไปหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจได้อย่างเพียงพอ

 

ในบางกรณี ลิ่มเลือดอาจปิดกั้นเส้นเลือดอย่างสมบูรณ์ ทำให้หัวใจขาดออกซิเจนอย่างรุนแรง ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของ โรคหัวใจ ยิ่งไปกว่านั้น หากเส้นเลือดที่ไปหล่อเลี้ยงสมองถูกปิดกั้น ก็จะส่งผลให้เกิด โรคหลอดเลือดสมองตีบ (Ischemic stroke) เช่นเดียวกัน และหากเส้นเลือดในสมองแตก จะทำให้เกิดความดันโลหิตสูงมากอย่างควบคุมไม่ได้ เนื่องจากภาวะเลือดออกในสมอง (Hemorrhage stroke)

 

อาการของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบเป็นอย่างไร?

อาการที่พบได้บ่อยของโรคเส้นเลือดหัวใจตีบ คือมีอาการเจ็บบริเวณหน้าอก และโรคเส้นเลือดหัวใจตีบสามารถตรวจสอบได้จาก ความดันโลหิต อาการปวด อาการชา รู้สึกแน่น หรือรู้สึกเจ็บบริเวณหน้าอก แต่ก็อาจรู้สึกไปถึงบริเวณไหล่ แขน คอ หลัง และขากรรไกรได้ด้วย แต่อาการเหล่านี้ เป็นอาการในลักษณะเดียวกับโรคอาหารไม่ย่อย ซึ่งอาจเกิดการเข้าใจผิดได้ 

 

อาการอื่นๆที่เกิดจากโรคเส้นเลือดหัวใจตีบที่ควรเฝ้าระวัง ได้แก่

– ภาวะหายใจได้เป็นช่วงสั้นๆ

– ใจสั่น (หัวใจเต้นผิดปกติ เต้นไม่เป็นจังหวะ หรือ รู้สึกมีการพลิกไปมาบริเวรหน้าอก)

– การเต้นของหัวใจเร็วขึ้นผิดปกติ

– อ่อนแอไม่มีเรี่ยวมีแรง

– วิงเวียนศีรษะ

– รู้สึกสะอิดสะเอียน

– เหงื่อออกมาก


ขอขอบคุณ ข้อมูลจาก รายการพบหมอศิริราช

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments