20 สาเหตุอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน

 

อาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน (Pelvic Pain) มักเป็นความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นในอวัยวะในระบบสืบพันธุ์ส่วนต่างๆในเพศหญิง แต่ที่น่าสนใจคือ อาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกรานสามารถพบได้ในเพศชายเช่นกัน ซึ่งจะเป็นสาเหตุหลักของโรคต่างๆต่อไป อาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน อาจนำไปสู่การติดเชื้อ การบาดเจ็บบริเวณกระดูกเชิงกราน หรืออวัยวะภายใน เช่น กระเพาะปัสสาวะและลำไส้ได้ ในเพศหญิงที่มีอาการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน อาจนำไปสู่ปัญหาเกี่ยวกับการมีบุตร เนื่องจากอวัยวะในระบบสืบพันธุ์มีปัญหา เช่น มดลูก รังไข่ ท่อนำไข่ ปากมดลูก และช่องคลอด

 

20 สาเหตุของอาการปวดกระดูกเชิงกราน

> ที่เกิดขึ้นได้กับเพศชาย หรือเพศหญิง ได้แก่

1. ไส้ติ่งอับเสบ

2 ความผิดปกติของกระเพาะปัสสาวะ

3. โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

4. การติดเชื้อที่ไต หรือ นิ่วในไต

5. ความผิดปกติของลำไส้

6. ความผิดปกติทางระบบประสาท

7. ไส้เลื่อน

8. ความผิดปกติของกระดูกเชิงกราน

9. กระดูกเชิงกรานหัก

10. อาการทางจิต

 

> ที่เกิดขึ้นได้เฉพาะกับเพศหญิงเท่านั้น ได้แก่

11. การตั้งครรภ์นอกมดลูก

12. การคลอดก่อนกำหนด

13. โรคกระดูกเชิงกรานอักเสบ

14. การตกไข่

15. การปวดประจำเดือน

16. ซีสต์ (Cyst) ในรังไข่ หรือความผิดปกติของรังไข่อื่น ๆ

17. การเกิด Fibroids ในมดลูก

18. โรคเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

19. มะเร็งมดลูก

20. มะเร็งปากมดลูก

 

อาการที่เป็นจุดสังเกตของการปวดบริเวณกระดูกเชิงกราน

1. การปวดประจำเดือนที่รุนแรง และรุนแรงเพิ่มขึ้นในแต่ละครั้ง

2. การเจ็บปวดเมื่อมีประจำเดือน

3. มีเลือดออกทางช่องคลอดเป็นจุดๆ หรือไหลไม่หยุด

4. ปัสสาวะแล้วรู้สึกเจ็บปวดหรือปัสสาวะยาก

5. อาการท้องผูกหรือท้องเสีย

6. ท้องอืดหรือรู้สึกมีแก๊สในท้อง

7. เลือดออกภายในลำไส้

8. ความเจ็บปวดในระหว่างการมีเพศสัมพันธ์

9. มีไข้หรือมีอาการหนาวสั่น

10. อาการปวดบริเวณสะโพก

11. อาการปวดบริเวณขาหนีบ

 

การตรวจโรคเมื่อคุณไปพบแพทย์

เพื่อตรวจสอบถึงสาเหตุของการปวดกระดูกเชิงกราน แพทย์จะถามคำถามบางคำถามกับคุณเกี่ยวกับอาการ หลังจากนั้นจะมีการทดสอบเพื่อหาสังเกตของการเจ็บปวด เช่น

– การตรวจเลือด และ ตรวจปัสสาวะ

– การตรวจครรภ์ ในหญิงวัยเจริญพันธุ์

– การตรวจภายใน เพื่อตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

– การฉายรังสีเอกซ์ (X-rays) บริเวณท้องและกระดูกเชิงกราน

– การตรวจความหนาแน่นและความแข็งแรงของกระดูก

– การส่องกล้องตรวจ เพื่อดูโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน

– การผ่าตัดผ่านกล้อง เพื่อตรวจสอบมดลูก

– การตรวจสอบ Stool test เพื่อดูอุจจาระ

– ตรวจสอบลำไส้ใหญ่ โดยส่องกล้องทางทวารหนัก

– อัลตราซาวน์ (ใช้คลื่นเสียงเพื่อดูอวัยวะภายใน)

– การทำ CT scans บริเวณท้องและกระดูกเชิงกราน

 

line add friend

 

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments