เครื่องวัดความดันโลหิตแต่ละประเภทต่างกันอย่างไร

ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่มีเครื่องวัดความดัน(blood Pressure Monitor) ติดไว้ประจำบ้าน ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อมาก เช่น Omron, Terumo, Panasonic เป็นต้น แต่อาจจะยังไม่รู้ว่าเครื่องวัดความดันมีกี่ประเภท และแต่ละประเภทมีข้อดี ข้อเสีย อย่างไรบ้าง วันนี้เราเลยสรุปแบบเข้าใจง่ายมาให้อ่านกันค่ะ

 

ความดันโลหิตคืออะไร?  

การไหลเวียนของเลือดดัน หรือเสียดสีกับผนังหลอดเลือด ความแรงของการผลักดันของเลือดนี้เรียกว่า “ความดันโลหิต” หากเกิดความดันโลหิตสูงมากเกินไป จะทำให้ความเครียดเพิ่มขึ้นในหลอดเลือดแดง และหัวใจ ซึ่งอาจจะนำไปสู่โรคหัวใจ และโรคหัวใจเต้นผิดจังหวะ ดังนั้นการมีเครื่องวัดความดันโลหิตไว้ประจำบ้านที่มีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ผู้สูงอายุ จึงเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง ความดันโลหิตสูงมักจะไม่แสดงอาการมาก่อนหรือมีสัญญาณบ่งบอกว่าเป็นความดันโลหิตสูงวิธีเดียวที่จะทราบได้นั่นก็คือการใช้เครื่องวัดความดันโลหิตในการตรวจวัดนั่นเอง

 

เครื่องวัดความดันโลหิต มีอยู่ 3 ชนิด ได้แก่

Mercury sphygmomanometer blood pressure

1. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท (Mercury sphygmomanometer)

เป็นครื่องวัดความดันโลหิตที่ใช้แรงโน้มถ่วงของโลกเป็นหลักและได้มาตรฐาน แม้สารปรอทจะมีความอันตรายแต่เครื่องวัดความดันโลหิตที่ออกแบบมาเพื่อใช้ที่บ้านนั้นมีความปลอดภัยค่อนข้างสูง

ข้อดี

– เป็นเครื่องวัดความดันโลหิตที่มีการใช้งาหนง่ายที่สุด

– การวัดผลแม่นยำ

ข้อเสีย

– การวัดความดันโลหิตด้วยเครื่องมือนี้ผู้วัดที่มีสายตาไม่ดี อาจทำให้ผลการวัดไม่แม่นยำเนื่องจากการอ่านค่าวัดความดันด้วยเครื่องชนิดนี้แท่งปรอทจจะต้องอยู่ในระดับสายตาอ่านค่าวัดความดัน

– ผู้ที่ไม่สามารถบีบลมได้เต็มที่ทำให้ค่าความความดันมีความคลาดเคลื่อน

– หากสารปรอทมีการรั่วอาจเกิดอันตรายจากสารปรอท

– ไม่สะดวกต่อการพกพาเนื่องจากเครื่องวัดความดันชนิดนี้มีขนาดใหญ่

– เครื่องวัดความดันชนิดปรอทจะต้องตั้งอยู่บนพื้นเรียบเท่านั้น

 

2. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดขดลวด (Aneroid equipment)

Aneroid blood pressure

ข้อดี

–  สะดวกต่อการพกพาไปนอกสถานที่

–  ราคาไม่สูงมากนัก

– ตัวเครื่องวัดความดันมีน้ำหนักเบาง่ายต่อการพกพา

ไม่จำเป็นจะต้องวางในระดับสายตา หรือพื้นเรียบ

ข้อเสีย

– การใช้งานค่อนข้างซับซ้อนมากกว่าเครื่องวัดความดันโลหิตชนิดปรอท ทำให้การใช้งานลำบากหากใช้ผิดเครื่องอาจชำรุดเสียหาย

– การซ่อมบำรุงเครื่องจะต้องตรวจสอบเครื่องอย่างน้อยปีละครั้ง

 

3. เครื่องวัดความดันโลหิตชนิดดิจิตอล (Automatice quipment)

blood pressure monitor omron

ข้อดี

– การใช้ง่ายสะดวกสบายใช้งานง่ายเพราะไม่จำเป็นต้องบีบลม และไม่มีหูฟัง

– พกพาสะดวก

– ผู้ที่สายตาไม่ดี การได้ยินไม่ชัดเจน เช่นผู้สูงอายุก็สามารถใช้ง่ายได้โดยไม่เกิดความคลาดเคลื่อนของค่าวัดความดัน

– มีหน้าจอแสดงผลความดัน และอัตราการเต้นของหัวใจ

– มีสายพันสองแบบคือ สายพันข้อมือ และสายพันแขน นอกจากนี้ยังสามารถพิมผลที่วัดได้ด้วย

ข้อเสีย

– ต้องมีการตรวจสอบตัวเครื่องวัดความดันโลหิตเป็นประจำเพื่อผลที่แม่นยำในการวัดทุกครั้ง

– เครื่องมีความคงทนน้อยกว่า 2 ชนิดที่กล่าวมา ชำรุดง่าย

– ราคาค่อนข้างสูง

 

Bangkok Hospital

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments