สาเหตุของโรคกระเพาะที่คุณอาจไม่เคยรู้และวิธีรักษา

 

สาเหตุโรคกระเพาะที่คุณไม่เคยรู้

กระเพาะอาหารเป็นอวัยวะที่อยู่บริเวณลิ้นปี่ถึงสะดือ ดังนั้นอาการปวดท้องโรคกระเพาะจะอยู่

บริเวณใต้ลิ้นปี่ถึงเหนือสะดือ ซึ่งอาการปวดจะเป็นๆ หายๆ หรือบางรายรักษาหายแล้วก็สามารถ

กลับมาเป็นได้อีก

 

 อาการปวดท้องโรคกระเพราะ

–  ปวดแสบปวดร้อน

–  แน่นท้องหรือจุก

–  ปวดท้องเวลาหิวหรือกินอิ่มแล้วก็ปวด

–  ท้องอืดเนื่องจากมีแก๊สในกระเพาะมาก

 

สาเหตุของโรคกระเพาะอาหาร

ทานยาแก้อักเสบ ยาแก้ปวด ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์ เหล่านี้มากเกินไป ส่วนใหญ่มักจะเป็นยารักษา

อาการปวดกระดูก ข้ออักเสบ หรือแก้ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อต่างๆ เช่น แอสไพริน , ibuprofen, naproxen ,diclofenac,

fenoprofen เป็นต้น

–  เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori)ทำให้เยื่อบุในกระเพาะอาหารถูก

กัดเซาะทำให้เกิดอาการปวดท้อง และมีเลือดออกในกระเพาะอาหาร ซึ่งเป็นสาเหตุที่สำคัญเนื่องจากเชื้อแบคทีเรีย

จะทำให้กระเพาะอาหารอักเสบ หรือกระเพาะอาหารอักเสบเรื้อรัง เกิดแผลในกระเพาะอาหาร ซึ่งอาจนำไปสู่โรคมะเร็ง

กระเพาะอาหารได้

–  กลุ่มอาการโซลลิงเจอร์-เอลลิสัน Zollinger-Ellison syndrome (ZES) คืออาการที่เกิดจากเนื้องอกที่หลั่งฮอร์โมนที่นำ

ไปสู่การเพิ่มขึ้นของการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้เกิดกรดไหลย้อนที่รุนแรง และทำให้เป็นแผลในกระเพาะอาหาร

–  ดื่มสุราเป็นประจำทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร หรือกระเพาะอาหารอักเสบ

–  ความเครียด

– การรับประทานอาหารรสจัด และของหมักดอง 

– การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา

 

วิธีรักษาโรคกระเพาะ

– การรับประทานยา แพทย์จะให้ยาลดกรด ในกรณีที่มีอาการเกี่ยวข้องกับการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร เช่นในกลุ่ม

ผู้ป่วยที่มีแผลในลำไส้เล็ก แพทย์ก็จะให้ยาลดกรดในกระเพาะอาหาร และช่วยรักษาอาการโรคกรดไหลย้อน นอกจากนี้

ยังมีการใช้ยาตัวอื่นเสริม เช่น ยาช่วยเคลือบผิวในกระเพาะอาหาร ยาเพิ่มหรือลดการบีบตัวของกระเพาะอาหารเป็นต้น

– การให้ยาปฏิชีวนะ ในกรณีที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียเฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter pylori) ซึ่ง

สามารถรักษาให้หายขาดได้ด้วยการใช้ยาปฏิชีวนะร่วมกับยาตัวอื่นๆ

– การส่องกล้อง  Endoscope หากผู้ป่วยมีแผลในกระเพาะอาหาร และมีเลือดออกเฉียบพลัน เพื่อเข้าทำการรักษา

และหยุดเลือดที่ออกในกระเพาะอาหาร

การผ่าตัด  ในกรณีของเลือดออกในกระเพาะอาหารอย่างรุนแรง มีแผลฉีกขาด หรือต้องมีการผ่าตัดมะเร็งที่เกิด

ในกระเพาะอาหาร

 

การหลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้นการเกิดโรคกระเพาะอาหาร

–  หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่ และดื่มเหล้า

–  การรับประทานอาหารในปริมาณน้อย บ่อยๆ

–  ไม่รับประทานอาหารรสจัด เช่น เผ็ดจัด เปรี้ยวจัด เพราะมีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร

–  ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments