สาเหตุและวิธีรักษาโรคกรดไหลย้อน

สาเหตุและอาการโรคกรดไหลย้อน

โรคกรดไหลย้อน (Gastroesophageal reflux disease: GERD) เป็นโรคทางเดินอาหารเรื้อรัง ซึ่งเกิดจากกรดที่ผลิตโดยกระเพาะอาหารสามารถไหลขึ้นลงในหลอดอาหาร ทำให้เกิดการระคายเคืองของเยื่อบุหลอดอาหาร และมีอาการแสบร้อนทรวงอกต้นเหตุของโรคกรดไหลย้อนนั่นเอง

 

สาเหตุ ของโรคกรดไหลย้อน

– การรับประทานอาหารมื้อใหญ่ หรือนอนลงทันทีหลังจากที่รับประทานอาหาร

– การมีน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วน

– การรับประทานอาหารมื้อหนัก  และนอนหงาย หรือก้มต่ำกว่าเอว

– การกินขนมขบเคี้ยวก่อนนอน

– การรับประทานอาหารบางชนิด เช่น ส้ม มะเขือเทศ ช็อคโกแลต สะระแหน่  กระเทียม หัวหอม อาหารรสจัด หรืออาหาร

ที่มีไขมันสูง

– การดื่มเครื่องดื่มบางอย่างเช่นเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ น้ำอัดลม และชา

– การสูบบุหรี่

– การตั้งครรภ์

– การใช้ยาแอสไพริน, ไอบูโปรเฟน , ยาคลายกล้ามเนื้อหรือยาความดันโลหิต

 

อาการของกรดไหลย้อน

– อาการปวดแสบปวดร้อน หรือแน่นท้องที่ย้ายจากกระเพาะอาหารมายังท้อง หน้าอก หรือแม้กระทั่งขึ้นไปในลำคอ

– อาการเรอเปรี้ยว หรือขมขึ้นไปในลำคอหรือปาก

อาการอื่นๆของกรดไหลย้อน

– ท้องอืด

– อุจจาระปนเลือดหรือมีสีดำ หรืออาเจียนเป็นเลือด

– อาการเรอ

– กลืนอาหารลำบาก เกิดจากการเตีบของหลอดอาหารทำให้รู้สึกเหมือนมีอาหารติดอยู่ที่ลำคอ

– อาการสะอึกไม่ขึ้น

– อาการคลื่นไส้

– น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ

– หายใจเสียงดัง ไอแห้ง เสียงแหบหรือมีอาการเจ็บคอเรื้อรัง

หากมีอาการกรดไหลย้อนเกิดขึ้นมากกว่าสัปดาห์ละสองครั้ง ควรไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา ไม่ควรปล่อย

ทิ้งไว้จนเรื้อรังซึ่งอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆได้

 

การรักษาโรคกรดไหลย้อน  วิธีที่ดีที่สุดในการรักษาโรคกรดไหลย้อน คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการ

รับประทานอาหารและวิถีชีวิตที่เป็นสาเหตุของโรคกรดไหลย้อน ดังนี้

– กินอาหารมื้อเล็กบ่อยครั้งมากขึ้นตลอดทั้งวัน

– เลิกสูบบุหรี่

– ทำให้หัวเตียงสูงขึ้นอย่างน้อย 4-6 นิ้ว

– ไม่รับประทานอาหารก่อนนอนอย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง

– ลองพยายามนอนหลับอยู่บนเก้าอี้ หรืองีบหลับในตอนกลางวัน

– ไม่สวมเสื้อผ้าที่คับหรือเข็มขัดแน่น

– หากคุณน้ำหนักเกิน หรือเป็นโรคอ้วนให้ใช้ขั้นตอนในการลดน้ำหนักด้วยการออกกำลังกาย และการเปลี่ยนแปลง

การรับประทานอาหารและหันมารับประทานอาหารไขมันต่ำ

– สอบถามการใช้ยาใดๆ ก่อนรับประทานหากมีอาการอื่นๆของโรคกรดไหลย้อน

 

Credit Photo : www.flickr.com

 

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments