วิธีดูแลและรักษาเมื่อเป็นโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบดูแลรักษาอย่างไร

โรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ (Cystitis)  เป็นการอักเสบของกระเพาะปัสสาวะที่ส่วนใหญ่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย และบางครั้งเรียกว่า การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ (Urinary tract infection) วิธีการรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบโดยปกติจะใช้ยาปฏิชีวนะของเชื้อแบคทีเรียขึ้นอยู่กับสาเหตุ การติดเชื้อในกระเพาะปัสสาวะจะทำให้รู้สึกเจ็บปวด และกลายเป็นปัญหาสุขภาพที่ร้ายแรงหากมีเชื้อแบคทีเรียมีการแพร่กระจายไปที่ไต 

 

อาการ และสัญญาณของโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

– มีการกระตุ้นให้ปัสสาวะบ่อย

– รู้สึกแสบร้อนเมื่อปัสสาวะ

– มีเลือดปนในปัสสาวะ หรือปัสสาวะเป็นเลือด

– ปัสสาวะมีกลิ่น หรือมีสีขุ่น

– รู้สึกไม่สบายบริเวณกระดูกเชิงกราน

– ความรู้สึกของความดันในช่องท้องลดลง

– มีไข้ต่ำ

 หากมีอาการ ปวดหลัง หรือปวดด้านข้าง มีไข้และหนาวสั่น มีอาการคลื่นไส้อาเจียน ควรพบแพทย์เพราะอาจมีการ

ติดเชื้อที่ไต

 

วิธีรักษาโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

การอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย 

การติดเชื้อครั้งแรก อาการมักจะดีขึ้นภายในหนึ่งวันหลังจากมีการให้ยาปฏิชีวนะ แต่ผู้ป่วยมีแนวโน้มที่จะต้องใช้ยา

ปฏิชีวนะเป็นเวลา 3 วันต่อสัปดาห์ ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของการติดเชื้อของผู้ป่วย

การติดเชื้อซ้ำ อาจต้องทำการประเมินผลดูความผิดปกติของทางเดินปัสสาวะที่อาจก่อให้เกิดการติดเชื้อ

 

การอักเสบเรื้อรัง

– ทานยา และใช้ยาเหน็บที่ใส่โดยตรงในกระเพาะปัสสาวะ

– วิธีการจัดการที่กระเพาะปัสสาวะเพื่อทำให้อาการดีขึ้น เช่น การยืดกระเพาะปัสสาวะด้วยน้ำ การเป่าลมเข้าไปใน

กระเพาะปัสสาวะ หรือการผ่าตัด

– กระตุ้นเส้นประสาทซึ่งใช้คลื่นไฟฟ้าอ่อน ๆ เพื่อบรรเทาอาการปวดกระดูกเชิงกราน และในบางกรณีช่วยลดความถี่

ในการปัสสาวะ

 

การอักเสบในรูปแบบอื่นๆ ที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ

– หากมีอาการแพ้สารเคมีบางอย่าง เช่น ครีมอาบน้ำ หรือยาฆ่าเชื้ออสุจิ ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์เหล่านั้น อาจช่วยให้

อาการดีขึ้น และช่วยป้องกันไม่ให้เป็นโรคกระเพาะปัสสาะอักเสบซ้ำในอนาคต

– กรณีเกิดจากภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือรังสีบำบัด มุ่งเน้นไปที่การรักษาอาการปวด มักจะใช้ยาที่

ให้ความชุ่มชื้นเพื่อไปกวาดล้างสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง หรืออักเสบในกระเพาะปัสสาวะ

 

การป้องกันโรคกระเพาะปัสสาวะอักเสบ

– ดื่มน้ำมากๆ

– ไม่กลั้นปัสสาวะนานๆ หรือปัสสาวะทันทีที่รู้สึกปวด

– เช็ดทำความสะอาดจากด้านหน้าไปด้านหลัง หลังจากการปัสสาวะหรืออุจจาระ จะช่วยป้องกันเชื้อแบคทีเรียที่อาศัย

อยู่รอบๆ ทวารหนักแพร่ไปยังช่องคลอด และท่อปัสสาวะ

– ใช้ฝักบัวมากกว่าการใช้อ่างอาบน้ำ

– ค่อยๆล้างผิวรอบช่องคลอด และทวารหนักทุกวัน และไม่ใช้สบู่ล้างแรงเกินไปเพราะผิวบริเวณนี้ค่อนข้างบอบบาง

อาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้

– ดื่มน้ำมากๆหลังจากที่มีเพศสัมพันธ์ จะช่วยล้างแบคทีเรียให้ออกมากับปัสสาวะ

– หลีกเลี่ยงการใช้สเปรย์ระงับกลิ่นกาย หรือผลิตภัณฑ์ของผู้หญิงในบริเวณอวัยวะเพศ ผลิตภัณฑ์เหล่านี้สามารถทำให้

ระคายเคืองท่อปัสสาวะ และกระเพาะปัสสาวะได้

 

 

ขอบคุณรูปภาพจาก  www.flickr.com

แชร์บทความนี้ให้กับเพื่อนๆของคุณด้วยนะคะ^^

Comments

comments